ประโยชน์ของวิตามิน เค (Vitamin K)

วิตามินเค หรือ เมนาไดโอน เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน โดยวิตามินเค มี 3 ชนิดคือ วิตามินเค 1 (ฟิลโลควิโนน) พบได้ในผักใบเขียว, วิตามินเค 2 (เมนาควิโนน) สร้างขึ้นโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ และวิตามินเค 3 (ไฮโดรฟิลโลควิโนน) ซึ่งเป็นวิตามินสังเคราะห์

ประโยชน์ของวิตามิน เค (Vitamin K)

ประโยชน์ของวิตามิน เค
ประโยชน์ของวิตามิน เค

วิตามินเค หรือ เมนาไดโอน เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน โดยวิตามินเค มี 3 ชนิดคือ วิตามินเค 1 (ฟิลโลควิโนน) พบได้ในผักใบเขียว, วิตามินเค 2 (เมนาควิโนน) สร้างขึ้นโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ และวิตามินเค 3 (ไฮโดรฟิลโลควิโนน) ซึ่งเป็นวิตามินสังเคราะห์

วิตามินเค 1, วิตามินเค 2 มีความสำคัญต่อสุขภาพที่ดีในแง่ที่แตกต่างกัน ส่วนวิตามินเค 3 ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ และไม่ได้ทำหน้าที่เป็นวิตามินเคอย่างแท้จริง และในตัวมันเองก็ไม่จัดว่าเป็นวิตามินที่ดีต่อร่างกาย โดยวิตามินเคจะมีหน่วยวัดเป็นไมโครกรัม (มคก. หรือ mcg.) และมีความสำคัญในการสร้างโพรทรอมบิน (Prothrombin) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว
แหล่งที่พบวิตามินเคตามธรรมชาติ ได้แก่ ไข่แดง ผักใบเขียว นม เนย อัลฟาฟา สาหร่ายเคลป์ น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันตับปลา เป็นต้น

ประโยชน์ของวิตามินเค

  1. ช่วยป้องกันเลือดออกภายในและเลือดออกไม่หยุด
  2. ช่วยบรรเทาอาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ
  3. ช่วยในกระบวนการสร้างลิ่มเลือด
  4. ช่วยป้องกันกระดูกเปราะบาง

ประโยชน์ของวิตามิน อี (Vitamin E)

วิตามินอี (Vitamin E) หรือ โทโคฟีรอล, โทโคไทรอีนอล เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ซึ่งจะถูกเก็บสะสมไว้ที่ตับ เนื้อเยื่อ ไขมัน หัวใจ เลือด กล้ามเนื้อ มดลูก อัณฑะ ต่อมหมวกไต ต่อมใต้สมอง มีหน่วยวัดเป็น IU โดย 1 IU = 1 mg. โดยวิตามินอีแบ่งออกออกเป็น 2 กลุ่ม

ประโยชน์ของวิตามิน อี (Vitamin E)

ประโยชน์ของวิตามินอี
ประโยชน์ของวิตามินอี

วิตามินอี (Vitamin E) หรือ โทโคฟีรอล, โทโคไทรอีนอล เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ซึ่งจะถูกเก็บสะสมไว้ที่ตับ เนื้อเยื่อ ไขมัน หัวใจ เลือด กล้ามเนื้อ มดลูก อัณฑะ ต่อมหมวกไต ต่อมใต้สมอง มีหน่วยวัดเป็น IU โดย 1 IU = 1 mg. โดยวิตามินอีแบ่งออกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือโทโคฟีรอลและโทโคไทรอีนอล โดยทั้ง 2 กลุ่มจะแบ่งเป็น 4 รูปแบบ คือ แอลฟา บีตา แกมมา เดลตา ซึ่งในบรรดาสารทั้ง 8 ตัว แอลฟาโทโคฟีรอลจัดได้ว่ามีฤทธิ์ทางชีวภาพ แต่แกมมาโทโคฟีรอลมีประสิทธิภาพมากกว่าในการเพิ่มระดับเอนไซม์ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส (SOD) ซึ่งมีความสามารถในการต่อต้านอนุมูลอิสระและป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งรวมไปถึงมะเร็ง โรคหัวใจ โรคชรา อัลไซเมอร์

วิตามินอี เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระชั้นเยี่ยม ป้องกันการเกิดออกซิเดชันของสารในกลุ่มไขมัน ทำงานเหมือนกับวิตามินเอ วิตามินซี ซีลีเนียม กรดอะมิโนซัลเฟอร์ นอกจากนี้วิตามินอียังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของวิตามินเอได้ดียิ่งขึ้น และยังทำหน้าที่สำคัญคล้ายเป็นยาขยายหลอดลมและเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด โดยวิตามินอีจะต่างกับวิตามินที่ละลายในไขมันตัวอื่นคือ ร่างกายจะเก็บสะสมไว้เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น คล้าย ๆ กับวิตามินบีและวิตามินซี

แหล่งที่พบวิตามินอีตามธรรมชาติ ได้แก่ ไข่ จมูกข้าวสาลี ขนมปังโฮลวีต ซีเรียลชนิดโฮลเกรน แป้งทำขนมปังแบบเสริมวิตามิน ถั่วเหลือง น้ำมันพืช น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพดถั่ว เมล็ดทานตะวัน เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ (วอลนัต พีแคน ถั่วลิสง จะมีแกมมาโทโคฟีรอลมากเป็นพิเศษ) กะหล่ำปลี กะหล่ำดาว ผักใบเขียว ผักขม อะโวคาโด (เฉพาะเนื้อ) ปวยเล้ง เป็นต้น

ประโยชน์ของวิตามินอี

  1. ช่วยทำให้แลดูอ่อนกว่าวัย โดยชะลอกระบวนการเสื่อมสภาพของเซลล์
  2. ช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี
  3. ช่วยนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพความทนทาน
  4. ช่วยปกป้องปอดจากมลพิษทางอากาศ โดยทำงานร่วมกับวิตามินเอ
  5. ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้หลายชนิด
  6. เพิ่มประสิทธิภาพในการต่อสู้กับโรคให้เม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์
  7. ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม
  8. ช่วยป้องกันและสลายลิ่มเลือด
  9. ช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย
  10. ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจก
  11. ป้องกันแผลเป็นหนานูน ทั้งภายนอกและภายใน
  12. เร่งให้แผลไหม้บริเวณผิวหนังหายเร็วยิ่งขึ้น
  13. ทำงานคล้ายยาขับปัสสาวะ ช่วยลดความดันโลหิต
  14. ช่วยในการป้องกันภาวะแท้ง
  15. บรรเทาอาการตะคริวหรือขาตึง
  16. ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและอัมพฤกษ์ อัมพาต
  17. ลดความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคอัลไซเมอร์ได้

ประโยชน์ของวิตามิน ดี (Vitamin D)

วิตามินดี (Vitamin D) หรือ แคลซิเฟอรอล, ไวออสเตอรอล, เออร์กอสเตอรอล หรืออาจเรียกว่า “วิตามินแดด” เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ร่างกายของเราจะได้รับวิตามินชนิดนี้จากแสงแดดหรืออาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อ เพร

ประโยชน์ของวิตามิน ดี (Vitamin D)

ประโยชน์จากวิตามิน ดี
ประโยชน์จากวิตามิน ดี

วิตามินดี (Vitamin D) หรือ แคลซิเฟอรอล, ไวออสเตอรอล, เออร์กอสเตอรอล หรืออาจเรียกว่า “วิตามินแดด” เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ร่างกายของเราจะได้รับวิตามินชนิดนี้จากแสงแดดหรืออาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อ เพราะรังสี UV จากแสงแดดจะทำปฏิกิริยากับน้ำมันที่ผิวหนัง ก่อให้เกิดการสร้างวิตามินดีซึ่งจะถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกาย

หากอาบแดดจนสีผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนแล้ว การสร้างวิตามินดีที่ผิวหนังจะหยุดลง คุณสามารถตากแดดโดยไม่ทาครีมกันแดดเพื่อรับวิตามินดีได้ แต่อย่าลืมที่จะปกป้องผิวของคุณด้วยการจำกัดเวลาในการออกแดดให้เหมาะสม (เพียง 1 ใน 4 ของเวลาที่จะทำให้ผิวคุณเริ่มแดง)

วิตามินดีที่เรารับประทานเข้าไปจะถูกดูดซึมพร้อมไขมันผ่านทางผนังลำไส้ วิตามินชนิดนี้มีหน่วยวัดเป็น IU หรือ ไมโครกรัมของโคลีแคลซิเฟอรอล และหมอกควันพิษในอากาศส่งผลให้แสงอาทิตย์กระตุ้นการสร้างวิตามินดีได้น้อยลง
สำหรับแหล่งอาหารที่พบวิตามินดีได้ทั่วไป ได้แก่ น้ำมันตับปลา ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาเฮอร์ริง นม และผลิตภัณฑ์จากนม เป็นต้น และศัตรูของวิตามินดี ได้แก่ ควันพิษ น้ำมันแร่

ประโยชน์ของวิตามินดี

  1. วิตามินดีช่วยเสริมการใช้แคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งจำเป็นต่อความแข็งแรงของกระดูกและฟัน
  2. หากรับประทานร่วมกับวิตามินเอและวิตามินซีจะช่วยป้องกันโรคหวัดได้
  3. ช่วยในการรักษาโรคเยื่อบุตาอักเสบ
  4. ช่วยในการดูดซึมของวิตามินเอ

โรคจากการขาดวิตามินดี : โรคกระดูกอ่อนในเด็ก ฟันผุขั้นรุนแรง โรคกระดูกน่วม ภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

ประโยชน์ของวิตามิน ซี (Vitamin C)

วิตามินซี (Vitamin C) หรือ กรดแอสคอร์บิก เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง สัตว์ส่วนใหญ่สามารถสังเคราะห์วิตามินซีเองได้ แต่มนุษย์ต้องอาศัยวิตามินซีจากอาหารเสริมแทนเท่านั้น วิตามินซีมีบทบาทสำคัญในการสร้างคอลลาเจนเพื่อช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่าง ๆ

ประโยชน์ของวิตามิน ซี (Vitamin C)

ประโยชน์ชองวิตามินซี
ประโยชน์ชองวิตามินซี

วิตามินซี (Vitamin C) หรือ กรดแอสคอร์บิก เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง สัตว์ส่วนใหญ่สามารถสังเคราะห์วิตามินซีเองได้ แต่มนุษย์ต้องอาศัยวิตามินซีจากอาหารเสริมแทนเท่านั้น วิตามินซีมีบทบาทสำคัญในการสร้างคอลลาเจนเพื่อช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย วิตามินชนิดนี้มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม (มก. หรือ mg.)

วิตามินซีช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้น วิตามินซีจะถูกใช้หมดไปอย่างรวดเร็วเมื่อคุณตกอยู่ในสภาวะเครียด การขาดวิตามินซีอาจทำให้เกิดโรคเลือดออกตามไรฟันได้ ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันอยู่ที่ 60 mg. และสำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรที่ประมาณ 70-96 mg. ผู้ที่สูบบุหรี่และผู้สูงอายุ ควรได้รับวิตามินซีเพิ่มมากขึ้น ร่างกายจะสูญเสียวิตามินซี 25 – 100 mg. ต่อการสูบบุหรี่หนึ่งมวน ช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) แหล่งที่พบวิตามินซีได้ในธรรมชาติ ได้แก่ ผลไม้รสเปรี้ยว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ผักใบเขียว แคนตาลูป มันฝรั่ง มะเขือเทศ ดอกกะหล่ำ พริกไทย เป็นต้น

หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้เกิดนิ่ว บางครั้งการรับประทานในปริมาณที่สูงหรือมากกว่า 10,000 mg. ขึ้นไปอาจก่อให้เกิดผลเสีย เช่น อาการท้องร่วง ปัสสาวะบ่อย มีผื่นผิวหนัง ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวคุณควรรับประทานในปริมาณที่น้อยลง คนไข้โรคมะเร็งที่กำลังฉายรังสีหรือเคมีบำบัด ไม่ควรรับประทานวิตามินซีเพราะผลตรวจอาจแปรปรวนได้

ประโยชน์ของวิตามินซี

  1. ประโยชน์ของวิตามินซีช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่ และลดการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
  2. การรับประทานเป็นประจำจะช่วยให้ผิวใส เนียน นุ่มลื่นอย่างเป็นธรรมชาติ
  3. ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  4. ช่วยในการรักษาและป้องกันโรคหวัด
  5. ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
  6. ประโยชน์วิตามินซี ช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้หลายชนิด
  7. ช่วยต่อต้านการสร้างสารไนโตรซามีน (สารก่อมะเร็ง)
  8. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
  9. ประโยชน์ของวิตามินซี ช่วยลดความดันเลือด
  10. ช่วยลดการเกิดเส้นเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ
  11. ช่วยต่อชีวิตให้เซลล์โดยช่วยให้โปรตีนในเซลล์เกาะเกี่ยวกันได้ดีขึ้น
  12. ช่วยเพิ่มการดูดซึมของธาตุเหล็ก
  13. เป็นยาระบายตามธรรมชาติ
  14. เพิ่มประสิทธิภาพของยาที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  15. ช่วยลดอาการที่เป็นผลมาจากสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้
  16. ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียหลายชนิด
  17. ช่วยเร่งให้แผลหลังผ่าตัดหายเร็วยิ่งขึ้น
  18. ช่วยในการรักษาแผลสด แผลไหม้ให้หายเร็วยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของวิตามิน บี (Vitamin B)

วิตามินบี หรือ วิตามินบีรวม ที่เรารู้จักมักคุ้นกันในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่คุณรู้หรือไม่ว่าวิตามินบีนั้นมีอยู่หลายชนิด และต่างก็มีประโยชน์และผลข้างเคียงที่ต่างกันออกไป โดยวิตามินบีแต่ละตัวจะทำงานเสริมซึ่งกันและกัน ต้องรับประทานร่วมกันจึงจะมีประสิทธิภาพมากกว่าแยกรับประทาน

ประโยชน์ของวิตามิน บี (Vitamin B)

ประโยชน์ของวิตามิน บี
ประโยชน์ของวิตามิน บี

วิตามินบี หรือ วิตามินบีรวม ที่เรารู้จักมักคุ้นกันในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่คุณรู้หรือไม่ว่าวิตามินบีนั้นมีอยู่หลายชนิด และต่างก็มีประโยชน์และผลข้างเคียงที่ต่างกันออกไป โดยวิตามินบีแต่ละตัวจะทำงานเสริมซึ่งกันและกัน ต้องรับประทานร่วมกันจึงจะมีประสิทธิภาพมากกว่าแยกรับประทาน สำหรับชนิดต่าง ๆ ของวิตามินบีรวมนั้นก็ได้แก่ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินบี 7 วิตามินบี 9 วิตามินบี 12 วิตามินบี 15 วิตามินบี 17 และยังรวมไปถึง ไบโอติน โคลีน พาบา อิโนซิทอล อีกด้วยที่จัดว่าอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีรวม

สำหรับการรับประทานวิตามินบีในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น ไม่ควรแยกรับประทานเพราะจะไม่ได้ประสิทธิภาพดีเท่าที่ควร แต่ควรรับประทานเป็นวิตามินบีรวม เพราะวิตามินบีแต่ละชนิดนั้นจะทำหน้าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน และจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานอย่างสูงสุด โดยวิตามินบีรวมนั้นมีความจำเป็นอย่างมากต่อระบบประสาทและความสมบูรณ์ของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย

วิตามินบี 1 (ไทอะมีน)

วิตามินบี 1 หรือ ไทอะมีน มีชื่อเรียกว่า “วิตามินเสริมขวัญและกำลังใจ” เพราะมีส่วนช่วยบำรุงประสาท แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ผัก โฮลวีต ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต ถั่วลิสง รำข้าว เปลือกข้าว เมล็ดที่ไม่ผ่านการขัดสี บริเวอร์ยีสต์ นม ไข่แดง ปลา เนื้อออร์แกนิก เนื้อหมูไม่ติดมัน ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับผู้ใหญ่คือ 1 – 1.5 มิลลิกรัม ผลเสียของการรับประทานเกินขนาดยังไม่พบว่ามีอาการเป็นพิษ หากรับประทานเกินขนาดก็จะถูกขับออกทางปัสสาวะและไม่มีการสะสมแต่อย่างใด แต่หากมีอาการ (ซึ่งพบได้น้อยมาก ๆ หรือแทบไม่เกิดเลย) ก็คือ สั่น โรคเริมกำเริบ ตัวบวม กระวนกระวาย หัวใจเต้นเร็ว และภูมิแพ้

ประโยชน์ของวิตามินบี1
1. ช่วยบำรุงประสาท กล้ามเนื้อ ทำให้หัวใจทำงานเป็นปกติ
2. ช่วยบำรุงสมอง ความคิด สติปัญญาให้ดีขึ้น
3. ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต
4. ช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้งได้ดี
5. ช่วยบรรเทาอาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
6. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดหลังการผ่าตัดทำฟัน
7. ช่วยรักษาโรคงูสวัด
8. ช่วยรักษาโรคเหน็บชา

วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน)

วิตามินบี 2 หรือ ไรโบฟลาวิน มีอีกชื่อว่า วิตามินจี (Vitamin G) แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ไข่ นม ถั่ว โยเกิร์ต ชีส ผักใบเขียว ปลา ตับ ไต ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับผู้ใหญ่คือ 1.2 – 1.7 มิลลิกรัม แต่ขนาดที่ใช้รับประทานต่อวันโดยทั่วไปคือ 100-300 mg.
ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ยังไม่พบอาการที่บ่งชี้ว่าเป็นพิษที่เกิดจากการรับประทานวิตามินชนิดนี้ แต่มีความเป็นไปได้ว่าหากในร่างกายมีวิตามินชนิดนี้สูงเกินไปก็คือ คัน รู้สึกชา อาการแสบยิบ ๆ
โรคจากการขาดวิตามินบีชนิดนี้ ได้แก่ โรคปากนกกระจอก หรือโรคขาดวิตามินบี 1 และบี 2 พบที่บริเวณริมฝีปาก มุมปาก ผิวหนัง อวัยวะสืบพันธุ์

ประโยชน์ของวิตามินบี 2

1. บำรุงผิวพรรณ เล็บ และเส้นผม
2. ช่วยในกระบวนการสร้างการเจริญเติบโตและสืบพันธุ์
3. เพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็น ช่วยบรรเทาอาการอ่อนล้าของสายตา
4. ช่วยลดความเจ็บปวดจากไมเกรน
5. กำจัดอาการเจ็บแสบในปาก ริมฝีปาก และลิ้น
6. ทำงานร่วมกับสารอื่น ๆ ในการเผาผลาญอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และโปรตีน

วิตามินบี 3 (ไนอะซิน)

วิตามินบี 3 หรือ ไนอะซิน สำหรับชื่ออื่น ๆ ได้แก่ ไนอะซินาไมด์, กรดนิโคตินิก, นิโคตินาไมด์ แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ไข่ ปลา เนื้อไม่ติดมัน เนื้อขาวจากพวกสัตว์ปีก ตับ โฮลวีต จมูกข้าวสาลี ถั่วลิสง อะโวคาโด อินทผลัม ลูกพรุน มะเดื่อฝรั่ง บริเวอร์ยีสต์
ปริมาณที่แนะนำให้คุณรับประทานต่อวันคือ 13-19 มิลลิกรัม โรคจากการขาดวิตามินบีชนิดนี้ ได้แก่ โรคเพลลากรา (Pellagra) ลักษณะอาการคือเป็นผื่นผิวหนังอักเสบรุนแรง

ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด
1. อาจมีแนวโน้มเป็นโรคเกาต์หรือมีอาการปวดตามข้อได้ หากในร่างกายคุณมีไนอะซินมากเกินไป
2. ผลข้างเคียงอาจมีอาการร้อนวูบวาบ หน้าแดง คันตามตัว เมื่อรับประทานเกินกว่า 100 mg.
3. ไม่ควรให้สัตว์กินไนอะซิน โดยเฉพาะสุนัข เพราะอาจมีอาการเหงื่อออก ร้อนวูบวาบตามตัว และสร้างความอึดอัดแก่สัตว์เลี้ยงได้
4. ทำให้ผู้ที่มีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานมีปัญหาต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด หรือส่งผลให้อาการของโรคเบาหวานรุนแรงขึ้นได้และอาจทำให้ตับทำงานผิดปกติได้ เพราะไนอะซินในร่างกายที่มีสูงมากเกินไปจะส่งผลต่อการควบคุมน้ำตาลในร่างกาย

ประโยชน์ของวิตามินบี 3

1. ช่วยบำรุงผิวพรรณ
2. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์
3. ช่วยเผาผลาญไขมันและช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น บรรเทาปัญหาต่าง ๆ ของระบบย่อยอาหาร
4. บรรเทาอาการปวดศีระษะจากไมเกรน
5. ลดอาการวิงเวียนศีรษะของโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
6. เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยลดความดันโลหิต
7. ช่วยรักษาอาการร้อนในและกลิ่นปาก
8. บรรเทาอาการท้องร่วง
9. ช่วยเพิ่มพลังงานที่ได้จากการย่อยและเผาผลาญอาหาร

วิตามินบี 5 (กรดแพนโทเทนิก)

แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไก่ ตับ ไต หัวใจ ธัญพืชไม่ขัดสี รำข้าว จมูกข้าวสาลี ถั่ว ผักสีเขียว กากน้ำตาลไม่บริสุทธิ์ บริเวอร์ยีสต์ ขนาดที่แนะนำให้รับประทานสำหรับผู้ใหญ่คือ 10 mg. ต่อวัน โรคจากการขาดวิตามินบี 5 ได้แก่ โรคไฮโปไกลซีเมีย (Hypoglycemia) หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นแผลในลำไส้เล็ก โรคเลือด โรคผิวหนัง

ประโยชน์ของวิตามินบี 5
1. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์
2. ช่วยลดอาการข้างเคียงจากการใช้ยาปฏิชีวนะ
3. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
4. ช่วยในกระบวนการรักษาแผล
5. ช่วยรักษาอาการช็อกหลังการผ่าตัด
6. ช่วยป้องกันการอ่อนเพลียของร่างกาย
7. ช่วยลดความเจ็บปวดจากโรคข้ออักเสบในผู้ป่วยบางรายได้
8. ช่วยรักษาอาการเหน็บชาที่มือและเท้า
9. ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย

วิตามินบี 6 (ไพริด็อกซิน)

วิตามินบี 6 หรือ ไพริด็อกซิน เป็นคำที่ใช้เรียกรวมกันของกลุ่มสารที่มีโครงสร้างคล้ายกันและทำงานร่วมกัน ซึ่งประกอบไปด้วย ไพริด็อกซิน ไพริด็อกซาล และไพริด็อกซามีน แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ บริเวอร์ยีสต์ รำข้าว จมูกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี ถั่วลิสง ถั่วเหลือง วอลนัต กะหล่ำปลี กากน้ำตาล แคนตาลูป ไข่ ตับ ปลา ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 1.6 – 2 mg.

ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด อาจเกิดอาการกระสับกระส่ายในเวลานอน ฝันเหมือนจริงเกินไป เท้าชาและมีอาการกระตุก สำหรับผู้ที่รับประทานขนาด 2,000 – 10,000 mg. ทุกวันอาจทำให้เกิดปัญหาต่อระบบประสาทได้ ขอแนะนำว่าควรรับประทานขนาดไม่เกิน 500 mg. ต่อวันจะปลอดภัยกว่าโรคจากการขาดวิตามินบี 6 โรคโลหิตจาง ผื่นผิวหนังอักเสบจากต่อมไขมัน

ประโยชน์ของวิตามินบี 6
1. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายให้แข็งแรง
2. ช่วยชะลอวัยได้
3. ช่วยป้องกันการเกิดนิ่วในไต
4. ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
5. ทำให้ร่างกายดูดซึมโปรตีนและไขมันได้ดียิ่งขึ้น
6. ช่วยเปลี่ยนรูปของทริปโตเฟน ให้เป็นวิตามินบี 3
7. ช่วยป้องกันโรคทางประสาทและโรคผิวหนังหลายชนิด
8. ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
9. เป็นยาขับปัสสาวะตามธรรมชาติ
10. ลดอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งในเวลากลางคืน มือชา ขาเป็นตะคริว และปลายประสาทที่แขนขาอักเสบบางชนิด
11. ช่วยลดอาการปากแห้งและปัญหาด้านการปัสสาวะที่เกิดจากการรับประทานยาต้านอาการซึมเศร้าในกลุ่มไตรไซคลิก

วิตามินบี 7 (ไบโอติน)

วิตามินบี 7 (Biotin) หรือ วิตามินเอช เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ซึ่งมีซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบและจัดอยู่ในกลุ่มวิตามินบีรวม
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ตับวัว ไข่แดง นม แป้งถั่วเหลือง เนย ถั่วลิสง บริเวอร์ยีสต์ ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 100 – 300 mcg.

โรคจากการขาดไบโอติน ผมร่วง ซึมเศร้า เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง การเผาผลาญไขมันทำงานไม่สมบูรณ์ เป็นผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณหน้าและตัว แต่ทั้งนี้ยังไม่พบผู้ที่มีอาการเป็นพิษจากการรับประทานไบโอตินเกินขนาดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

ประโยชน์ของไบโอติน
1. ช่วยป้องกันผมหงอกได้ดี
2. ช่วยป้องกันและรักษาโรคเกี่ยวกับเส้นผมและหนังศีรษะล้าน
3. ช่วยป้องกันและบำรุงรักษาเล็บที่แห้งเปราะ
4. ช่วยในการเผาผลาญไขมันและโปรตีน
5. บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ
6. ช่วยบรรเทาอาการผื่นผิวหนังอักเสบ ผดผื่นคันต่าง ๆ

วิตามินบี 9 (กรดโฟลิก)

วิตามินบี 9 หรือ กรดโฟลิก (โฟเลต,โฟลาซิน) หรือรู้จักกันในชื่อ วิตามินเอ็มหรือวิตามินบีซี (BC) แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ไข่แดง ตับ ผักใบเขียวเข้ม แคร์รอต แคนตาลูป ฟักทอง เอพริคอต อะโวคาโด อาร์ทิโชก ถั่ว แป้งไรย์แบบสีเข้มที่ไม่ผ่านการขัดสี ทอร์ทูลายีสต์ ขนาดที่แนะนำให้รับประทานคือประมาณ 180 – 200 mcg. ต่อวัน

ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ปัจจุบันยังไม่พบว่ามีอาการที่เป็นพิษต่อร่างกายหากรับประทานในปริมาณมากติดต่อกัน แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผื่นแพ้ได้บ้าง และหากร่างกายมีกรดโฟลิกมากเกินไป อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12 แต่ไม่แสดงออกมา

โรคจากการขาดวิตามินบี 9 โรคโลหิตจางแบบแมโครไซติกหรือเม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ผิดปกติ

ประโยชน์ของวิตามินบี 9
1. ช่วยบำรุงผิวพรรณและสุขภาพ
2. ช่วยแก้ปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอได้
3. ช่วยชะลอให้ผมขาวช้าลง หากรับประทานร่วมกับพาบา และวิตามินบี5
4. ช่วยให้เจริญอาหาร หากร่างกายอ่อนเพลีย
5. ช่วยป้องกันแผลร้อนในได้
6. ช่วยรักษาภาวะซีดหรือโลหิตจาง
7. ทำงานออกฤทธิ์คล้ายยาแก้ปวด
8. ช่วยป้องกันพยาธิในลำไส้และอาการแพ้จากอาหารเป็นพิษ
9. ช่วยป้องกันการพิการของเด็กทารกแรกเกิด
10. ช่วยในการสร้างน้ำนมของมารดาหลังคลอดบุตร
11. ช่วยลดระดับของกรดอะมิโนโฮโมซิสเทอีนในเลือด
12. ชวยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้

วิตามินบี 12 (โคบาลามิน)

วิตามินบี 12 หรือ โคบาลามิน (Cobalamin) มีอีกชื่อที่รู้กันดีคือ วิตามินแดงหรือไซยาโนโคบาลามิน (Cyanocobalamin)
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ เนื้อสัตว์เป็นหลัก ตับ ไต นม ไข่แดง ชีส ปลา เนื้อหมู เนื้อวัว อาหารหมักดอง เป็นต้น ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับผู้ใหญ่คือ 2 ไมโครกรัม หากร่างกายขาดวิตามินบี 12 อาจทำให้เกิด โรคโลหิตจางและโรคเกี่ยวกับระบบประสาทได้

ประโยชน์ของวิตามินบี 12
1. ช่วยบำรุงประสาททำให้ระบบประสาทแข็งแรงขึ้น
2. ช่วยเพิ่มสมาธิ ความจำ และการทรงตัว
3. ช่วยบรรเทาอาการหงุดหงิด ลดความเครียด
4. ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย
5. ช่วยทำให้เด็กเจริญอาหาร
6. ทำให้ร่างกายสามารถใช้ไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตได้อย่างเหมาะสม
7. มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
8. ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง
9. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งจากการสูบบุหรี่
10. ปริมาณ 80 ไมโครกรัมต่อวันจะช่วยเสริมสร้างความแข็งของกระดูกและช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนได้

วิตามินบี 15 (กรดแพงเกมิก)

แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ข้าวกล้อง เมล็ดฟักทอง เมล็ดงา เมล็ดธัญพืชไม่ขัดสี บริเวอร์ยีสต์ ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ยังไม่พบว่าหากรับประทานในปริมาณมากจะมีอาการเป็นพิษต่อร่างกาย แต่อาจมีอาการคลื่นไส้ในช่วงแรก ๆ ที่เริ่มรับประทานวิตามินบี 15 แต่อาการมักจะหายไปได้เองภายในไม่กี่วัน และอาจจะบรรเทาอาการโดยเริ่มต้นรับประทานวิตามินบี 15 หลังมื้ออาหารที่หนักที่สุดของวัน

โรคที่พบจากการขาดวิตามินบี15 เนื่องจากวิตามินตัวนี้ยังมีงานวิจัยค่อนข้างน้อยและจำกัด แต่มีความเป็นไปได้ว่าการขาดวิตามินบี 15 จะทำให้เกิดความผิดปกติของต่อมและเส้นประสาท โรคหัวใจ สภาวะที่ออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆได้น้อยลง

ประโยชน์ของวิตามินบี 15
1. ช่วยเพิ่มการตอบสนองภูมิคุ้มกันของร่างกาย
2. ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน
3. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
4. ช่วยบรรเทาอาการอยากดื่มสุรา
5. ช่วยรักษาอาการเมาค้าง
6. ช่วยปกป้องตับจากภาวะตับแข็ง
7. เร่งการฟื้นตัวจากความอ่อนเพลีย
8. ช่วยป้องกันอันตรายจากมลพิษต่าง ๆ
9. สามารถยืดอายุของเซลล์ในหลอดทดลองได้
10. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและโรคหืด

วิตามินบี 17 (อะมิกดาลิน)

วิตามินบี 17 หรือ อะมิกดาลิน (Amygdalin) หรือ เลไทรล์ (Laetrile) แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ เมล็ดพืชโดยเฉพาะเมล็ดเอพริคอต และยังมีเมล็ดอื่น ๆ อีก เช่น เมล็ดแตงโม เมล็ดพลับ เมล็ดถั่วอัลมอนด์ เมล็ดทานตะวัน ข้าว ถั่ว รวมไปถึงถั่วแมคาเดเมีย
การได้รับวิตามินชนิดนี้ในปริมาณที่มากเกินไปอาจจะทำให้ตัวเย็น เหงื่อออก ปวดศีรษะ คลื่นไส้ มีอาการง่วงซึม หายใจติดขัด ริมฝีปากเขียว ความดันต่ำ

เชื่อกันว่าวิตามินชนิดนี้สามารถช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ (แต่ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่มากและยังไม่เป็นที่ยอมรับ) วิตามินชนิดนี้สามารถช่วยป้องกันความเสื่อมทางสมองได้ และสามารถช่วยทำให้ผู้ที่ร่างกายอ่อนแอกลับมามีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเหมือนเดิมและสุขภาพจิตก็ดีขึ้น

พาบา (กรดพารา-แอมิโนเบนโซอิก)

พาบา (PABA) หรือ กรดพารา-แอมิโนเบนโซอิก เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีรวม แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ตับ ไต ข้าว รำข้าว จมูกข้าวสาลี ธัญพืชไม่ขัดสี กากน้ำตาล บริเวอร์ยีสต์ ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ยังไม่พบว่ามีอันตรายต่อร่างกายหากรับประทานในปริมาณสูงและต่อเนื่อง แต่ไม่แนะนำให้รับประทานในปริมาณที่สูงต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน ส่วนอาการที่อาจบ่งบอกว่าในร่างกายได้รับพาบามากเกินไปที่พบเห็นได้บ่อยคือ คลื่นไส้อาเจียน

ประโยชน์ของพาบา
1. ช่วยให้ผิวพรรณมีสุขภาพดีและเนียนนุ่ม
2. ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยได้
3. ช่วยลดความเจ็บปวดจากแผลไหม้
4. ช่วยฟื้นคืนสีผมตามธรรมชาติให้กับเส้นผม โรคจากการขาดพาบา ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดเอ็กซีมา

โคลีน (Choline)

โคลีน (Choline) เป็นหนึ่งในสารที่ช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญไขมันในร่างกาย และจัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีรวม แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ไข่แดง เนื้อสัตว์ หัวใจ สมอง ตับ ปลา ผักใบเขียว ยีสต์ จมูกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ถั่วเหลือง ถั่วลิสง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ยังไม่มีขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันอย่างเป็นทางการ แต่มีการประมาณว่าในวัยผู้ใหญ่สามารถรับประทานได้ประมาณ 500 – 900 mg. ต่อวัน

โรคจากการขาดโคลีน
1. โรคอัลไซเมอร์
2. ผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัว
3. โรคตับแข็งหรือไขมันสะสมที่ตับ

ประโยชน์ของโคลีน
1. ช่วยทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย
2. ช่วยต่อสู้กับปัญหาความจำเสื่อมในวัยสูงอายุ (ด้วยขนาด 1,000 – 5,000 mg. ต่อวัน)
3. ช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้
4. ช่วยในกระบวนการส่งกระแสประสาท โดยเฉพาะในสมองส่วนที่ทำงานด้านความจำ
5. ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
6. ช่วยป้องกันภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด
7. ช่วยลดการสะสมตัวของคอเลสเตอรอลได้
8. ช่วยกำจัดสารพิษและยาที่ค้างในร่างกาย โดยช่วยเสริมการทำงานของตับ

อิโนซิทอล (Inositol)

อิโนซิทอล (Inositol) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ จัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีรวม แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ตับ สมองและหัวใจวัว จมูกข้าวสาลี กากน้ำตาล ถั่วลิสง ถั่วลิมาแห้ง ลูกเกด แคนตาลูป เกรปฟรุต กะหล่ำปลี บริเวอร์ยีสต์ ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันยังไม่มีระบุอย่างเป็นทางการ แต่สำหรับผู้ใหญ่สามารถรับประทานได้วันละ 500 – 1,000 mg.

โรคจากการขาดอิโนซิทอล
1. ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดเอ็กซีมา (Eczema) โดยมีลักษณะอาการคือ บวมแดง คัน ผิวหนังลอกเป็นขุย
2. มีอาการท้องผูกได้ง่าย เนื่องจากการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวลำไส้จะทำงานผิดปกติ จึงทำให้อาหารตกค้างในลำไส้ใหญ่
3. อาจเกิดความผิดปกติในดวงตา เช่น ตาบอดกลางคืน ต้อกระจก ต้อหิน และการมองเห็นผิดปกติได้
4. เกิดภาวะผมร่วงได้
5. อาจเกิดภาวะเส้นเลือดอุดตัน หรือมีการแข็งตัวของผนังเส้นเลือดได้
6. อาจเกิดภาวะเสื่อมและอักเสบของปลายประสาท ทำให้มีอาการชา หรือปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้าได้

ประโยชน์ของอิโนซิทอล
1. ป้องกันการหลุดร่วงของเส้นผม ช่วยให้เส้นผมมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง
2. ทำให้รู้สึกสงบ ช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล
3. สามารถช่วยป้องกันมะเร็งบางชนิดได้
4. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญไขมัน
5. ช่วยปรับการสะสมของไขมันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
6. ช่วยฟื้นฟูอวัยวะต่าง ๆ ของผู้ป่วยเบาหวานให้ดีขึ้น
7. ช่วยป้องกันผื่นผิวหนังอักเสบเอ็กซีมา

ประโยชน์ของวิตามิน เอ (Vitamin A)

วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ซึ่งต้องใช้ไขมันและแร่ธาตุมาช่วยในการดูดซีมเข้าสู่ร่างกาย โดยร่างกายคนเราสามารถเก็บสะสมวิตามินเอได้ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรับประทานอาหารเสริมทดแทนทุกวันแต่อย่างใด วิตามินเอแบ่งเป็น 2 ชนิด

ประโยชน์ของวิตามิน เอ (Vitamin A)

ประโยชน์ของวิตามิน เอ
ประโยชน์ของวิตามิน เอ

วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ซึ่งต้องใช้ไขมันและแร่ธาตุมาช่วยในการดูดซีมเข้าสู่ร่างกาย โดยร่างกายคนเราสามารถเก็บสะสมวิตามินเอได้ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรับประทานอาหารเสริมทดแทนทุกวันแต่อย่างใด วิตามินเอแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ วิตามินเอแบบสำเร็จที่เรียกว่า เรตินอล Retinol (พบในอาหารที่มาจากสัตว์เท่านั้น) และโปรวิตามินเอหรือแคโรทีน (พบทั้งพืชและสัตว์)

ซึ่งวิตามินเอนั้นมีหน่วยวัดเป็น IU, USP และ RE โดยที่นิยมใช้กันมากก็คือหน่วย IU แหล่งอาหารของวิตามินเอที่พบได้โดยทั่วไป เช่น น้ำมันตับปลา ตับ แคร์รอต ผักสีเหลืองและเขียวเข้ม ผักตำลึง ยอดชะอม คะน้า ยอดกระถิน ผักโขม ฟักทอง มะม่วงสุก บรอกโคลี แคนตาลูป แตงกวา ผักกาดขาว มะละกอสุก ไข่ นม มาร์การีน ผลไม้สีเหลือง เป็นต้น

โทษของวิตามินเอ ได้แก่ อาการปวดกระดูก ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ประจำเดือนมาไม่ปกติ ผมร่วง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ผิวลอก ผมร่วง ตามัว ผดผื่น และอาการตับบวมโต โดยอาจเป็นอันตรายได้สำหรับวัยผู้ใหญ่ที่รับประทานมากกว่า 50,000 IU ต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายเดือน และสำหรับหญิงตั้งครรภ์อาจแท้งลูกได้หากรับประทาน 18,500 IU ต่อเนื่องกันทุกวัน ส่วนเบต้าแคโรทีน หากทานมากกว่า 34,000 IU ต่อเนื่องกันทุกวัน สีผิวอาจเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองได้ และศัตรูของวิตามินเอ ได้แก่ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนและแคโรทีนจะทำงานขัดแย้งกันกับวิตามินเอ หากในร่างกายมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระไม่เพียงพอ

ประโยชน์ของวิตามินเอ

  • วิตามินเอช่วยสร้างภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อในทางเดินหายใจ
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็น ช่วยรักษาโรคตาได้หลายโรค โดยช่วยสร้างเม็ดสีที่มีคุณสมบัติไวต่อแสง
  • ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • วิตามินเอช่วยลดระยะเวลาการเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยลดจุดด่างดำ รอยแผลเป็น รอยแผลสิวที่ผิวหนังได้ดี
  • ช่วยสร้างเนื้อเยื่อชั้นนอกของอวัยวะต่าง ๆ ให้มีสุขภาพดีขึ้น
  • ส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย ผิวพรรณ ผม ฟัน เหงือก และเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก
  • รักษาโรคถุงลมโป่งพองและไทรอยด์เป็นพิษได้
  • หากใช้ทาบริเวณผิวหนังจะช่วยรักษาสิวได้ ลดริ้วรอยตื้น ๆ
  • ช่วยรักษาโรคผิวหนังชนิดเป็นตุ่มพุพองที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ฝี ชันนะตุ และแผลเปิดต่าง ๆ ผลจากการขาดวิตามินเอ จะทำให้นัยน์ตาแห้ง มีอาการตาบอดตอนกลางคืน การขาดวิตามิน สาเหตุอาจมาจากการดูดซึมไขมันบกพร่องเรื้อรัง พบมากในวัยเด็กอายุไม่เกิน 5 ขวบ เนื่องจากการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ

สารสกัดจากไวน์แดง (Red Wine Extract)

สารอาหารที่มีอยู่ในไวน์แดงนั่น คือ Resveratrol ช่วยยึดอายุของสิ่งมีชีวิต, ช่วยในเรื่องของการชะลอความชรา (Antiaging) ทำหน้าที่เสมือนสารต้านอนุมูลอิสระ (Anti Oxidant) กำจัดสารอนุมูลอิสระและสารพิษต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เซลล์มีสุขภาพดีขึ้น

สารสกัดจากไวน์แดง (Red Wine Extract)

สารสกัดจากไวน์แดง (Red Wine Extract)
สารสกัดจากไวน์แดง (Red Wine Extract)

สารอาหารที่มีอยู่ในไวน์แดงนั่น คือ Resveratrol ช่วยยึดอายุของสิ่งมีชีวิต, ช่วยในเรื่องของการชะลอความชรา (Antiaging) ทำหน้าที่เสมือนสารต้านอนุมูลอิสระ (Anti Oxidant) กำจัดสารอนุมูลอิสระและสารพิษต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เซลล์มีสุขภาพดีขึ้น ช่วยบำรุงการทำงานของเส้นประสาทสัมผัสในสมองช่วยต่อสู้กับความเหนื่อยล้าของกล้ามเนื้อ และสนับสนุนการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย รักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด ลดระดับความดันโลหิตสูง ซึ่งด้วยประโยชน์ของสารอาหารจากไวน์แดงนี้ ทำให้มีการนำมาผลิตอาหารเสริม อีกด้วย

ประโยชน์ของสารสกัดจาก Red Wine ไวน์แดง

  1. มีสาร Resveratrol ที่ช่วยชะลอความแก่
  2. มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  3. ช่วยกระบวนการในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
  4. ช่วยฟื้นฟูกระบวนการทำงานของระบบประสาทและสมอง
  5. ช่วยลดภาวะเหนื่อยล้าของกล้ามเนื้อ
  6. ช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด
  7. ช่วยลดภาวะระดับความดันโลหิตสูง

สารสกัดจาก ดีปลี (Long Pepper)

มีหลักฐานการจดบันทึกมานานมากกว่า 4,000 ปี มีแหล่งผลิตใหญ่อยู่ที่ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย สำหรับในประเทศไทยบ้านเราทางภาคใต้และภาคเหนือนิยมใช้ผลดีปลีมาเป็นเครื่องเทศแทนพริกและพริกไทย โดยทั้งดีปลีและพริกไทยต่างก็มีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุไฟในการย่อยอาหารเหมือน ๆ กัน

สารสกัดจาก ดีปลี (Long Pepper)

สารสกัดจากดีปลี Long Pepper
สารสกัดจากดีปลี Long Pepper

ดีปลี ชื่อสามัญ Long Pepper ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper retrofractum Vahl (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Chavica officinarum Miq., Piper chaba Hunter, Piper officinarum (Miq.) C. DC.) แต่บางข้อมูลระบุว่าเป็นชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Piper longum L. จัดอยู่ในวงศ์พริกไทย (PIPERACEAE)

สมุนไพรดีปลี มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ดีปลีเชือก (ภาคใต้), ปานนุ ประดงข้อ (ภาคกลาง), พิษพญาไฟ ปีกผัวะ เป็นต้น สมุนไพรดีปลี สมุนไพรเก่าแก่ที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง มีหลักฐานการจดบันทึกมานานมากกว่า 4,000 ปี มีแหล่งผลิตใหญ่อยู่ที่ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย สำหรับในประเทศไทยบ้านเราทางภาคใต้และภาคเหนือนิยมใช้ผลดีปลีมาเป็นเครื่องเทศแทนพริกและพริกไทย โดยทั้งดีปลีและพริกไทยต่างก็มีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุไฟในการย่อยอาหารเหมือน ๆ กัน แต่ดีปลีจะดีกว่าในเรื่องของลมเบ่งของมดลูก หรือลมที่ค้างในลำไส้ รวมไปถึงอาการกำเริบของเสมหะและลมปอด ส่วนพริกไทยนั้นจะดีกับลมที่ขับปัสสาวะ

อาหารเสริมที่มีการนำสมุนไพรดีปลี มาผสมจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด เพิ่มการดูดซึมของอาการในหลอดเลือด ช่วยให้เส้นเลือดแข็งแรงขึ้น ลดรอยรั่วไหล ช่วยลดการบวมของขาอีกด้วย

ประโยชน์ของสารสกัด Long Papper ดีปลี

  1. ช่วยเพิ่มระบบการหมุนเวียนเลือดในร่างกาย
  2. ช่วยเพิ่มการดูดซึมในหลอดเลือด
  3. ช่วยปรับสมดุลให้เส้นเลือดแข็งแรงขึ้น
  4. ช่วยให้เจริญอาหาร
  5. ช่วยบรรเทาอาการหวัด อาการไอ หืดและ หอบ
  6. ช่วยขับน้ำดี เมื่อมีการอุดตันของท่อน้ำดี
  7. ช่วยเพิ่มกระบวนการย่อยอาหาร

สารสกัด Turmeric ขมิ้นชัน

ขมิ้นชันอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต

สารสกัด Turmeric ขมิ้นชัน

สารสกัดจากขมิ้นชัน Tumaric Extract
สารสกัดจากขมิ้นชัน Tumaric Extract

ขมิ้น หรือ ขมิ้นชัน ชื่อสามัญ Turmeric ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa L. จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)

ขมิ้น เป็นพืชล้มลุกที่จัดอยู่ในตระกูลขิง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าจะเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีตั้งแต่สีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดจัด โดยถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น ขมิ้นชัน ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละภาคและจังหวัดนั้น ๆ นิยมนำไปใช้ในการประกอบอาหาร แต่งสี แต่งกลิ่นอาหาร เช่น แกงไตปลา แกงกะหรี่ เป็นต้น

ขมิ้นชันอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน เป็นต้น และขมิ้นชันมีสรรพคุณทางยาที่รักษาอาการและโรคต่าง ๆ ได้หลายชนิด มีประวัติในการนำมาใช้ในการรักษามากกว่า 5,000 ปี สำหรับขมิ้นชันที่จะนำมาใช้ประโยชน์นั้น การเก็บเกี่ยวไม่ควรเก็บในระยะที่ขมิ้นเริ่มแตกหน่อ เพราะจะทำให้สารที่มีประโยชน์อย่างเคอร์คูมินในขมิ้นมีน้อย ส่วนเหง้าที่เก็บมาต้องมีอายุอย่างน้อย 9-12 เดือน และต้องไม่เก็บไว้นานเกินไป และไม่ให้ถูกแสงแดด เพราะน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นจะหมดไปเสียก่อน

ขมิ้นชันเมื่อได้เหง้ามาแล้ว หากจะนำไปรับประทานเพื่อใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ ควรล้างให้สะอาดก่อน และไม่ต้องปอกเปลือก แต่หั่นเป็นแว่นชิ้นบาง ๆ แล้วนำไปตากแดดสัก 2 วันแล้วนำมาบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นเม็ดเล็ก ๆ เท่าปลายนิ้วก้อย แล้วนำมารับประทานวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 2-3 เม็ด หลังอาหารและช่วงก่อนนอน หรือจะนำเหง้าแก่มาขูดเอาเปลือกออกแล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาด นำมาบดให้ละเอียด เติมน้ำแล้วคั้นเอาแต่น้ำมารับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง หากนำขมิ้นมาใช้เป็นยาทาภายนอก เพื่อรักษาอาการแพ้ ผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย ให้นำเหง้าขมิ้นมาฝนผสมกับน้ำต้มสุก แล้วทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 ครั้ง หรือจะนำเอาผงขมิ้นมาโรยก็ใช้ได้เช่นกัน

ประโยชน์ของสารสกัด Turmeric ขมิ้นชัน

  1. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลดวัยและริ้วรอย
  2. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  3. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้สุขภาพดีอย่างเป็นธรรมชาติ
  4. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เช่น โรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก
  5. ช่วยลดและควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย
  6. ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
  7. ช่วยบรรเทาอาการและภาวะของโรคความดันโลหิตสูง
  8. ช่วยบำรุงประสาทและสมอง ป้องกันโรคความจำเสื่อม
  9. ช่วยบำรุงปอดให้มีสุขภาพดีและเเข็งแรงขึ้น
  10. ช่วยแก้อาการตกเลือด ตกขาว ในผู้หญิง
  11. นิยมนำมาเป็นสารสกัดในการผลิตอาหารเสริม